ปลัด สธ.สั่ง สสจ.และโรงพยาบาลที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง น้ำท่วมฉับพลันจากพายุนกเต็น ในภาคเหนือ อีสาน ตะวันออก เตรียม 4 แผนรับมือตลอด 24 ชม.ทั้งการป้องกันน้ำท่วมอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์ การสำรองทรัพยากรที่จำเป็น การอพยพผู้ป่วย และการจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่ ย้ำ หากประชาชนเจ็บป่วยฉุกเฉินโทร.แจ้ง 1669
นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ปลัด สธ.) ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบจากพายุ “นกเต็น” ว่า ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โรงพยาบาลทุกระดับที่มีความเสี่ยงน้ำท่วมฉับพลันตามคำเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และ ภาคตะวันออก ได้แก่ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร มุกดาหาร กาฬสินธุ์ อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิจิตร น่าน พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร ตาก ระยอง จันทบุรี และตราด เตรียมแผนรองรับ 4 แผนหลัก
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 01 สิงหาคม 2011 เวลา 14:18 น.
เตือนภัยโปลิโอ
การระบาดของโรคโปลิโอ
สถานการณ์โปลิโอทั่วโลก ปี 2554 วันที่ 14 มิถุนายน 2554 (ข้อมูลจาก Polio Clobal Eradication Initiative) มีรายงานผู้ป่วยทั้งหมด 205 ราย ใน 23 ประเทศ ร้อยละ 32 เป็นผู้ป่วยที่เกิดในประเทศที่มีโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่น ประเทศที่มีผู้ป่วยมากที่สุดคือ ชาด มีจำนวน 68 รายรองลงมาคือสาธารณรัฐคองโก มีจำนวน 55 ราย ปากีสถาน 49 ราย ไนจีเรีย 12 ราย สำหรับการระบาดในประเทศ ชาด องค์การอนามัยโลกประกาศเป็นความเสี่ยงระดับ สูง เพราะไม่สามารถควบคุมาการระบาดได้
ข้อเสนอแนะ
ประเทศไทยมีชาวปากีสถานเดินทางเข้ามาค่อนข้างมาก ดังนั้น การติดตามกำกับดูแลความครอบคลุมของวัคซีนโปลิโอ จึงเป็นสิ่งจำเป็น รวมทั้งการเร่งรัดการเฝ้าระวัง AFP ซึ่งต้องมีการเฝ้าระวังอัตราป่วย AFP ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ไม่น้อยกว่า 2 ต่อประชากรเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีแสนคน โดยที่อัตราป่วย AFP ในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในเขตตรวจราชการที่ 18 ขณะนี้เท่ากับ 0.77 ต่อประชากรแสนคน เป้าหมายการค้นหา AFP ของจังหวัดนครสวรรค์ 4 ราย พบ 2 ราย พิจิตร 2 ราย พบ 1 ราย กำแพงเพชร 3 ราย ยังไม่มีรายงาน อุทัยธานี 2 ราย ยังไม่มีรายงาน
ที่มา ( สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 นครสวรรค์ )
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน 2011 เวลา 11:07 น.
การระบาดของโรคติดเชื้อแบคทีเรียอี.โคไล ชนิดทำให้เลือดออก
(Enterohemorrhagic E.coli ; EHEC)
กระทรวงสาธารณสุข
3 มิถุนายน 2554
1. ความเป็นมา : ด้วยมีข่าวปรากฎตามสื่อสาธารณะต่างๆ ทั้งภายในและนอกประเทศว่า มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากด้วยกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวายในประเทศเยอรมนี ซึ่งตรวจพบว่า ผู้ป่วยเหล่านี้ ติดเชื้อแบคทีเรียชนิดร้ายแรงชื่อว่า E.coli O 104 รวมทั้งมีการตั้งข้อสงสัยถึงสาเหตุของการระบาดว่า อาจเกี่ยวข้องกับแตงกวาที่นำเข้าจากประเทศสเปน ซึ่งข่าวนี้ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกในหมู่ประชาชนในแถบยุโรป รวมทั้งคนไทยที่เริ่มทราบข่าวนี้
หน้า 9 จาก 17
"การบิดเบือนความจริง เพื่อให้ผลทางอื่น จะมีผลกระทบต่อการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างมาก ขอให้นักระบาดวิทยาวิเคราะห์ และนำเสนอแต่ความจริง" อ.สุชาติ เจตนเสน .....๒๕ ธค.๔๖......หนองคาย. |
![]() | Today | 1032 |
![]() | Yesterday | 35978 |
![]() | This week | 166193 |
![]() | Last week | 216919 |
![]() | This month | 200521 |
![]() | Last month | 739152 |
![]() | All days | 2063085 |